หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สถาบันทางสังคม


บทที่ 4สถาบันทางสังคม สถาบันทางสังคม ในทางสังคมวิทยา หมายถึง                               วิธีการปฏิบัติที่สมาชิกในสังคมยอมรับเพื่อประโยชน์ร่วมกันในสังคม

           องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม                 1. องค์การทางสังคม ได้แก่ สถานภาพ บทบาท การควบคุมทางสังคม การจัดระดับความสำคัญของบุคคล                    ตามสถานภาพและค่านิยม 
                2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ ภาระผูกพันที่สถาบันจะต้องกระทำเพื่อสนองความต้องการของสังคม 
                3. ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ คือ วิถีทางในการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสถาบันของสังคม

           ประเภทของสถาบันทางสังคม                 1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันแรกที่มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม มีความเกี่ยวพันกันทางสายโลหิต 
                          ประเภทของครอบครัว :: 
                              1. ครอบครัวเดี่ยว เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก มีลักษณะเป็นกลุ่มปฐมภูมิ 
                              2. ครอบครัวขยาย เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และญาติ 
                              3. ครอบครัวซ้อน เป็นครอบครัวที่มีหลายผัวหลายเมีย 
                          หน้าที่สำคัญของสถาบันครอบครัว ::
                              1. ให้กำเนิดสมาชิกใหม่และกำหนดสถานภาพแก่สมาชิก 
                              2. ดูแล เลี้ยงดูให้เจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม 
                              3. อบรมสั่งสอนหลักศีลธรรมจรรยาในการดำรงชีวิตในสังคมนั้น 
                              4. บำบัดความต้องการทางเพศ 
                              5. มีหน้าที่ทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นหน่วยของเศรษฐกิจ 

                2. สถาบันการปกครอง ทุกสังคมจำเป็นต้องมีสถาบันการปกครอง เพื่อความมั่นคง ปลอดภัย                                          ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมให้สงบสุขและเจริญก้าวหน้า 
                          หน้าที่ของสถาบันการปกครอง 
                              1. ระงับข้อขัดแย้งระหว่างตัวบุคคลและบุคคลในสังคม 
                              2. ออกกฎหมายบังคับใช้ในรูปแบบต่าง ๆ 
                              3. ควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ 
                              4. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกประเทศ 
                              5. ให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกให้ปลอดภัยในชีวิต 
                               6. วางแผนและจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของสังคม 

               3. สถาบันเศรษฐกิจ เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การตลาด เพื่อสนองความต้องปัจจัย 4                                      ของสมาชิกในสังคม 
                           หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ 
                              1. ผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจ 
                              2. การแจกแจง เป็นการนำเอาวัตถุดิบ แรงงานไปสู่หน่วยผลิต                                                   โดยใช้กลไกของสังคมแลกเปลี่ยนและบริการ 
                              3. การบริโภค ช่วยให้ผลผลิตมีการบริโภคเพียงพอ 
                              4. พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ 



               4. สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคม                                      เพื่อให้สมาชิกได้รับความรู้ ความสามารถ วัฒนธรรม และคุณธรรม                                                        เพื่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมส่วนรวม 
                            หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
                               1. ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางสังคมแก่สมาชิก 
                               2. ถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่คนรุ่นหลัง 
                               3. สนับสนุนการใช้สติปัญญาและศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม 
                               4. ฝึกฝนสมาชิกให้มีความรู้ความสามารถในอาชีพต่าง ๆ 
                               5. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่สังคม 
                               6. ส่งเสริมและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง 

               5. สถาบันทางศาสนา เป็นสถาบันที่ช่วยยกจิตใจของมนุษย์ในสังคมให้สูงขึ้น ช่วยสร้างความคิด ความเชื่อ                                        ให้สังคมมีความเป็นบึกแผ่น มีรากฐานทางศีลธรรม ค่านิยม                                                          แบบแผนความประพฤติที่ช่วยให้สังคมเกิดความสงบสุข 
                            หน้าที่ของสถาบันทางศาสนา 
                               1. สร้างศรัทธาและความเชื่อแก่มนุษย์ 
                               2. อบรมสั่งสอนคุณค่าทางศีลธรรมและจริยธรรม 
                               3. เป็นแรงเสริมการจัดระเบียบทางสังคม 
                               4. เป็นแรงเสริมการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ 
                               5. สร้างเสริมค่านิยม และบรรทัดฐานทางสังคม 
                               6. ช่วยให้สมาชิกของสังคมมีความสุขทางใจ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น