หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นธรรมในสังคม


        เพื่อนหลายสาขาอาชีพได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องความเป็นธรรมในสังคมการทำงาน หลากหลายความคิดเห็นเหล่านั้น ส่วนใหญ่มีความคิดสอดคล้องกัน ที่รวบรวมนำเสนอนี้เป็นเพียงบางส่วนหนึ่งเพื่อรับรู้ว่าในอีกฟากหนึ่งของสังคมเขาคิดอย่างไรกัน
"เมื่อบุคคลหลายคนในหน่วยงานใดร่วมกันกระทำบางสิ่งบางอย่างอันขัดกับมโนธรรม หรือความยุติธรรม หาประโยชน์เพื่อตนเอง หรือผู้อื่น เกื้อหนุนพวกพ้องเดียวกัน พยายามหาช่องทางให้ผู้มีอำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะในด้านผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการเงิน หรือทางด้านบุคลากร โดยไม่มองถึงความเป็นธรรมหรือหลักการที่ถูกต้อง คนเหล่านี้เมื่อรวมกันเข้าจะกลายเป็นกลุ่มบุคคลที่น่าสะพึงกลัว

        เขาคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เขาไม่ได้เสแสร้ง แต่มันเป็นเบื้องลึกของจิตใจเขาจริง ๆ เขาเห็นว่าการสร้างช่องทางให้ผู้มีอำนาจได้ใช้ประโยชน์ส่วนตนจากกระบวนการต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ผู้ที่คิดต่างกับพวกเขาแม้จะคิดในแนวทางที่ชอบธรรม ก็จะกลายเป็นคนที่คิดผิด ทำผิด ไม่ว่าท่านจะถูกต้องเป็นธรรมเพียงใดก็ตาม เนื่องจากความเป็นธรรมของพวกเขา คือผลประโยชน์ ผลตอบแทน ตำแหน่งหน้าที่ บำเหน็จความดีความชอบ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งก็ดูจะเป็นธรรมสำหรับพวกเขา หากว่าสิ่งที่เขากระทำนั้นอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความเสมอภาคทางสังคม ไม่ใช่ทำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใด
      การแสวงหาแนวทางที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจ จะเป็นหลักการสำคัญของคนกลุ่มนี้ เขาไม่เคยเสียเวลาเหลียวคิดแม้เพียงน้อยนิดที่จะรับรู้ถึงหลักความเป็นธรรมของสังคม ไม่ต้องการรับรู้ว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน บุคคลในองค์กรพึงได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ผู้มีอำนาจไม่สมควรที่จะได้รับอภิสิทธิ์อันไม่ชอบธรรมเหนือผู้ใด เพราะกิจการงานขององค์กร หาใช่กิจกรรมในครอบครัว กลุ่มบุคคลเหล่านี้อาจไม่เคยเหลียวมอง ความถูกต้องที่สังคมโลกกำลังสร้างสรรจรรโลงให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค
    กติกาของสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในทุกวันนี้ก็เพื่อป้องกันการใช้อำนาจการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบของผู้มีอำนาจ จะเห็นได้ตั้งแต่กฏบัตรสหประชาชาติ มาจนกฏหมายรัฐธรรมนูญ ของประเทศ ที่พยายามเขียนปิดช่องโหว่ไม่ให้ผู้มีอำนาจได้แสวงหาประโยชน์ส่วนตนจากช่องว่างที่อาจเปิดอยู่ แต่ดูเหมือนว่า ความจริงของสังคมหลายแห่งยังมีผู้กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งมีความคิดสวนทางกับหลักการดังกล่าว เขาพยายามร่วมมือกันหาช่องทางให้ผู้มีอำนาจ อย่างน่าละอายและดูเหมือนว่าการกระทำเหล่านั้นเขาเห็นว่านั่นคือความรู้ความสามารถที่บุคคลอื่นไม่พึงมี ถามว่าเพื่ออะไร คำตอบคือ เขาเหล่านั้นต้องการ ผลประโยชน์ตอบแทนทางตำแหน่งหน้าที่ ความก้าวหน้า ความดีความชอบเป็นบำเหน็จรางวัล อันจะทำให้เขาใช้บำรุงบำเรอชีวิต ประหนึ่งสุนัขไล่งับเศษกระดูกที่มีผู้โยนให้แทะจนบางครั้งถึงกับต้องทะเลาะหรือแว้งใส่กันเอง  และบางทีอาจเกิดจากความกลัวว่าจะไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กลัวจะไม่ได้พิจารณาความดีความชอบอันเป็นธรรม

      นั่นย่อมเห็นได้ว่าเขาเกรงว่าเขาจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจ เขาจึงโยนความไม่เป็นธรรมเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นหรือสังคม แล้วเขาเหล่านั้นคิดว่าสิ่งที่เขาได้รับนั้นคือความเป็นธรรมนั่นเอง……….
      ความผูกพันธ์อันดีงามของมนุษยชาติถูกทำลายไปในที่สุด ความเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง ถูกทำลายลงทีละน้อยและหมดสิ้นไป นับวันคนเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละองค์กร เพราะความต้องการเศษเนื้อติดกระดูกที่ถูกยื่นให้ ศักดิ์ศรีความเป็นคนจึงถูกย่ำยีลง

     อ่านจบลองเหลียวไปมองดู สังคมในองค์กรของคุณล่ะเป็นแบบไหน

     

สถาบันหรือองคฺกร


สถาบันทางสังคม

ความหมายของสถาบันทางสังคม
    หมายถึง แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นและปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในสังคม ประเพณีต่าง ๆ สถาบันครอบครัว สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการศึกษา

มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ

1. บุคคล คือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หมายถึงบุคคลที่ได้จัดระเบียบแล้ว เช่น มีสถานภาพ มีบทบาท มีการควบคุมทางสังคม มีการจัดระเบียบสังคมและมีค่านิยม

2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคม

3. แบบแผนการปฏิบัติ หรือ พฤติกรรม คือ กฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน ที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคม
ประเภทของสถาบันทางสังคม

สถาบันครอบครัว

1. องค์การทางสังคม แบ่งออกเป้น 2 ประเภท คือ
    1.1 ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก
    1.2 ครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวขนาดใหญ่ ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกและญาติ ๆ

2. หน้าที่ สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ เลี้ยงดูผู้เยาว์ ให้ความรักความอบอุ่น อบรมสั่งสอนและกำหนดสถานภาพทางสังคม

3. แบบแผนการปฏิบัติ คือ ให้แนวทางในการปฏิบัติต่อกันในครอบครัว

สถาบันการศึกษา  

ทำหน้าที่ ถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า รู้จักในการแก้ปัญหาด้วยหลักและวิธีการอันเหมาะสม

1. องค์การทางสังคม ได้แก่ กลุ่มคนที่ทำงานในกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สภาการศึกษา กลุ่มครู อาจารย์ 

2. หน้าที่ ของสถาบันการศึกษา
    2.1 การพัฒนาคน
    2.2 การให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์
    2.3 การสอน และการส่งเสริมในด้านวิชาชีพและศิลปวัฒนธรรม
    2.4 จัดแหล่งความรู้และวิทยาการที่อำนวยความสะดวกต่อสังคม

3. แบบแผนการปฏิบัติ คือ การจัดการเกี่ยวกับการศึกษา และการวางมาตราฐานการศึกษา

สถาบันศาสนา  

เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ประการ คือ ความเชื่อ การแสดงออก ความรู้สึกทางอารมณ์

องค์ประกอบของสถาบันศาสนา

1. องค์การทางสังคม เช่น กลุ่มเจ้าอาวาส กลุ่มพระ กลุ่มชี กลุ่มบาทหลวง

2. หน้าที่ของสถาบันทางการศาสนา
    - การให้การอบรมสั่งสอน
    - การปกป้อง คุ้มครอง
    - การรักษากฎ ศีลธรรมของสังคม
    - การขัดเกลาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคม

3. แบบแผนการปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติตามบทบัญญัติ หลักธรรม ประเพณี

สถาบันเศรษฐกิจ  

เป็นสถาบันเกี่ยวกับความอยู่รอดของมนุษย์ในการดำรงชีวิตในสังคม
องค์ประกอบของสถาบันเศรษฐกิจ

1. องค์การทางสังคม ได้แก่ กลุ่มที่ทำงานในธนาคาร บริษัท ห้างร้าน โรงงาน

2. หน้าที่ของสถาบันทางเศรษฐกิจ
    - สนองความต้องการทางเศรษฐกิจ
    - จัดอำนวยความสะดวกในทางเศรษฐกิจ
    - พัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
    - ช่วยเหลือเกื้อกูลให้มีการบริโภคอย่างเพียงพอและทั่วถึง

3. แบบแผนการปฏิบัติ ได้แก่ การจัดระบบทรัพย์ มีเงื่อนไขสัญญา การอาชีพ การแลกเปลี่ยนและการตลาด

สถาบันทางการเมืองการปกครอง

องค์ประกอบของสถาบันการเมืองการปกครอง

1. องค์การทางสังคม ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร

2. หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
    - รักษาความสงบเรียบร้อย
    - ระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล
    - คุ้มครองบุคคลให้ได้รับความปลอดภัย

3. แบบแผนการปฏิบัติ ได้แก่ การจัดให้มีกฎหมายต่าง ๆ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สถาบันทางสังคม


บทที่ 4สถาบันทางสังคม สถาบันทางสังคม ในทางสังคมวิทยา หมายถึง                               วิธีการปฏิบัติที่สมาชิกในสังคมยอมรับเพื่อประโยชน์ร่วมกันในสังคม

           องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม                 1. องค์การทางสังคม ได้แก่ สถานภาพ บทบาท การควบคุมทางสังคม การจัดระดับความสำคัญของบุคคล                    ตามสถานภาพและค่านิยม 
                2. หน้าที่ของสถาบันทางสังคม คือ ภาระผูกพันที่สถาบันจะต้องกระทำเพื่อสนองความต้องการของสังคม 
                3. ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ คือ วิถีทางในการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสถาบันของสังคม

           ประเภทของสถาบันทางสังคม                 1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันแรกที่มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม มีความเกี่ยวพันกันทางสายโลหิต 
                          ประเภทของครอบครัว :: 
                              1. ครอบครัวเดี่ยว เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก มีลักษณะเป็นกลุ่มปฐมภูมิ 
                              2. ครอบครัวขยาย เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และญาติ 
                              3. ครอบครัวซ้อน เป็นครอบครัวที่มีหลายผัวหลายเมีย 
                          หน้าที่สำคัญของสถาบันครอบครัว ::
                              1. ให้กำเนิดสมาชิกใหม่และกำหนดสถานภาพแก่สมาชิก 
                              2. ดูแล เลี้ยงดูให้เจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม 
                              3. อบรมสั่งสอนหลักศีลธรรมจรรยาในการดำรงชีวิตในสังคมนั้น 
                              4. บำบัดความต้องการทางเพศ 
                              5. มีหน้าที่ทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นหน่วยของเศรษฐกิจ 

                2. สถาบันการปกครอง ทุกสังคมจำเป็นต้องมีสถาบันการปกครอง เพื่อความมั่นคง ปลอดภัย                                          ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมให้สงบสุขและเจริญก้าวหน้า 
                          หน้าที่ของสถาบันการปกครอง 
                              1. ระงับข้อขัดแย้งระหว่างตัวบุคคลและบุคคลในสังคม 
                              2. ออกกฎหมายบังคับใช้ในรูปแบบต่าง ๆ 
                              3. ควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ 
                              4. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายในและภายนอกประเทศ 
                              5. ให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกให้ปลอดภัยในชีวิต 
                               6. วางแผนและจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของสังคม 

               3. สถาบันเศรษฐกิจ เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การตลาด เพื่อสนองความต้องปัจจัย 4                                      ของสมาชิกในสังคม 
                           หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ 
                              1. ผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจ 
                              2. การแจกแจง เป็นการนำเอาวัตถุดิบ แรงงานไปสู่หน่วยผลิต                                                   โดยใช้กลไกของสังคมแลกเปลี่ยนและบริการ 
                              3. การบริโภค ช่วยให้ผลผลิตมีการบริโภคเพียงพอ 
                              4. พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ 



               4. สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้แก่สมาชิกในสังคม                                      เพื่อให้สมาชิกได้รับความรู้ ความสามารถ วัฒนธรรม และคุณธรรม                                                        เพื่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมส่วนรวม 
                            หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
                               1. ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางสังคมแก่สมาชิก 
                               2. ถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่คนรุ่นหลัง 
                               3. สนับสนุนการใช้สติปัญญาและศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม 
                               4. ฝึกฝนสมาชิกให้มีความรู้ความสามารถในอาชีพต่าง ๆ 
                               5. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่สังคม 
                               6. ส่งเสริมและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง 

               5. สถาบันทางศาสนา เป็นสถาบันที่ช่วยยกจิตใจของมนุษย์ในสังคมให้สูงขึ้น ช่วยสร้างความคิด ความเชื่อ                                        ให้สังคมมีความเป็นบึกแผ่น มีรากฐานทางศีลธรรม ค่านิยม                                                          แบบแผนความประพฤติที่ช่วยให้สังคมเกิดความสงบสุข 
                            หน้าที่ของสถาบันทางศาสนา 
                               1. สร้างศรัทธาและความเชื่อแก่มนุษย์ 
                               2. อบรมสั่งสอนคุณค่าทางศีลธรรมและจริยธรรม 
                               3. เป็นแรงเสริมการจัดระเบียบทางสังคม 
                               4. เป็นแรงเสริมการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ 
                               5. สร้างเสริมค่านิยม และบรรทัดฐานทางสังคม 
                               6. ช่วยให้สมาชิกของสังคมมีความสุขทางใจ